share

สรท. คาดส่งออกไทย ปี 2566 ขยายตัว 3% หรือมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ ยังไร้แรงสนับสนุน ส่งผลให้ส่งออกชะลอตัว ขณะที่ ส่งออกปี 2565 ขยายตัว 7-8% พร้อมกันนี้ จับมือ ตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาทด้านโลจิสติกส์

Last updated: 5 Oct 2023
126 Views
สรท. คาดส่งออกไทย ปี 2566 ขยายตัว 3% หรือมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ ยังไร้แรงสนับสนุน ส่งผลให้ส่งออกชะลอตัว ขณะที่ ส่งออกปี 2565 ขยายตัว 7-8% พร้อมกันนี้ จับมือ ตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาทด้านโลจิสติกส์

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย สรท. คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ขยายตัวที่ 7-8% หรือมีมูลค่า 290,000-293,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การส่งออกปี 2566 ขยายตัวที่ 2-3% หรือมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวได้ คือ จีนผ่อนคลายโควิด-19 สินค้าการส่งออกที่ยังเติบโต การส่งออกอาหารสินค้าเกษตร เป็นต้น

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าธนาคารกลางได้ออกมาตรการทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของตลาดหลักเริ่มมีการชะลอตัวลง ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และวัตถุดิบที่มีราคายังคงมีผันผวน ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ปุ๋ย เป็นต้น โดยจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปีหน้า

อย่างไรก็ดี สรท. มีข้อเสนอแนะที่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาติดตามและสนับสนุนในการส่งออก โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้มีควาามผันผวนเร็วเกินไปซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 34-35 บาท ต่อเหรียญสหรัฐ ขอให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ขอให้ภาครัฐช่วยพิจารณาควบคุมหรือปรับขึ้นค่าไฟฟ้า (FT) ทั้งในภาคการผลิตและภาคครัวเรือน แบบค่อยเป็นค่อยไป

ขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการยกระดับการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาล และเร่งดำเนินการความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่สำคัญ อาทิ Thai-EU,Thai-UK,Thai-Turkey,RCEP(อินเดีย) และ FTAAP

นายชัยชาญ กล่าวอีกว่า สรท. ยังได้จัดทำ White Paper 2022: CLMVT Connectivity Multimodal Transportation in the Next Normal หรือ รุกรวดเร็ว รถ-เรือ-ราง-ลิ้งค์ เพื่อนำเสนอข้อแนะเชิงนโยบายและแนวทางการเตรียมความพร้อมโอกาสของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้ากระจายสินค้าไปยังเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจของไทยและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อบ้านในกลุ่ม CLMVT โดยใช้การเชื่อมโยงเคร่อข่ายสำคัญภายในประเทศในลักษณะการขนส่งแบบ Multimodal Transport

อีกทั้งเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคตอย่างไรก็ดี White Paper ฉนับนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์รายละเอียด เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนในการขนส่งไว้เป็นทางเลือกนการกำหนดรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลาบรูปแบบ ทั้งระบบราง ทางถนน(บก) และทางน้ำ วิเคราะห์ความท้าทายโอกาสอุปสรรค ในแต่ละรูปแบบของการขนส่งทางเลือก เพื่อให้ประโยชน์ในอนาคต

ในขณะเดียวกัน สรท. จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยหน่วยงาน สถานบัน อนุญาตโตตุลาการ และกรรมการศูนย์ สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย และกรรมการศูนย์ฯ จับมือแถลงข่าวการเปิดตัว ศูนย์ระงับข้อพิพาทด้านโลจิสติกส์(Thailand Logistics ADR Center : TLAC) ภายใต้สถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้บริการระงับข้อพิพาทในกิจกรรมโลจิสติกส์การค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งในรูปแบบการประรอมข้อพิพาทและการอนุยาโตตุลาการ

โดยคาดว่าในปี 2566 จะสามารถแก้ไขข้อพิพาทระหว่างภาคเอกชนโดยการประนอมและการอนุญาโตตุลาการมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท และช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจแก่ผุ้ส่งออกนำเข้าและผู้ให้บริการโลจิติกส์ให้มีความต่อเนื่อง ลดต้นทุนและระยะเวลาในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกันให้น้อยลง เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

TLAC จัดตั้งขึ้นภายใต้ ที เอช เอ ซี สถานบันอนุญาโตตุลาการ มีวิสัยทัศน์ คือ ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์ระงับข้อพิพาททางเลือกชั้นนำด้านโลจิกติกส์ทั้งในและระหว่างประเทศ ภายใต้พันธกิจสำคัญ ได้แก่

  1. ผลักดันและส่งเสริมให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีมาตรการที่เป็นมิตรต่อการระงับข้อพิพาททางเลือก
  2. สร้างความรับรู้เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเลือกและการให้บริการของ TLAC
ให้บริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก ที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ตามระเบียบของการระงับข้อพิพาททางเลือกของ THAC และมีบริการ 2 ส่วน ได้แก่
  1. การให้บริการด้านคดี อาทิ การระงับข้อพิพาทด้วยการประนอม,การระงับข้อพิาพทด้วยการอนุญาตโตตุลาการ,การระงับข้อพิพาทด้วยช่องทาง Online หรือที่เรียกว่า Talk DD
  2. การให้บริการทางด้านจัดฝึกอบรมและจัดการประชุมสัมมนา อาทิ หลักสูตรอบรมอนุญาโตตุลาการ หลักสูตรอบรมผู้ประนอม หลักสูตรบริหารจัดการความขัดแย้ง เป็นต้น

ทั้งนี้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ของ THAC และ TLAC คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงกันเลือกบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเพื่อวินิฉัยชี้ขาด ข้อพิพาท โดยคู่พิพาทตกลงที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวนั้น โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล ซึ่งมีข้อดีที่สำคัญประกอบด้วย

  1. คู่สัญญาเป็นคนเลือกอนุญาโตตุลาการ
  2. อนุญาโตตุลาการจะมีความเชี่ยวชาญที่ตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
  3. ระยะเวลาในการพิจารณาคดีน้อยกว่า
  4. คู่สัญญามีอำนาจในการกำหนดกระบวนพิจารณาคดีอนุญาโตตุลาการ
  5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการต่ำกว่า


กล่าวได้ว่า การใช้บริการระงับข้อพิพาทด้านโลจิสติกส์ภายใต้ TLAC จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ เนื่องจาก

  1. สะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า
  2. ให้บริการครบวงจรโดยมืออาชีพ
  3. อิสระและมีมาตรฐานสากล


TACL ถือเป็นก้าวสำคัญของ THAC ในการให้บริการสำหรับข้อพิพาทด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์การประกาศใช้พระราชบัญญัติสถานบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย

  • ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ
  • ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ
  • ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการรวมทั้งกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
บาทอ่อนต้นทุนส่งทางเรือพุ่ง “โลจิสติกส์ไทย” เสียเปรียบจีนแข่งขันไม่ได้
ไทยเจ้าภาพประชุม Global Shippers Alliance สภาผู้ส่งออกร่วมเวทีถกผู้นำเข้า-ส่งออกทั่วโลก 10-12 ต.ค นี้ แก้ปม “ค่าระวางเรือ-ตู้คอนเทนเนอร์” หลังผลกระทบจากโควิด-19 สงครามการค้า หวั่นค่าเงินบาทอ่อนกระทบต้นทุนโลจิสติกส์ผู้ส่งออกไทยแพงกว่าจีน 65% แข่งขันไม่ได้
5 Oct 2023
จับตาตลาด “สหรัฐ-อียู-จีน. สัญญาณส่งออกไทยชะลอตัว
“สทร.ประเมินส่งออกไทยปลายปี เผชิญ 4 ปัจจัยเสี่ยง ขณะที่เศรษฐกิจตลาดคู่ค้าสำคัญไทย สหรัฐ-อียู-จีน แต่คงเป้าส่งออกทั้งปีที่ 6-8%”
5 Oct 2023
TSTE ผนึกกำลังเซ็น MOU ร่วมกับ TIL ตั้งบริษัทร่วมทุน ประกอบกิจการท่าเรือคอนเทนเนอร์ 16C ขยายธุรกิจโลจิสติกส์ให้ครอบคลุม
นายชนะชัย ชุติมาวรพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่ที่บริหาร บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน) หรือ TSTE ผู้ให้บริการขนถ่ายสินค้าเรือเดินสมุทร ให้เช่าดังเก็บสินค้าและบริการท่าเทียบเรือ เปิดเผยว่า วันที่ 19 ต.ค. 65 บริษัทฯ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการร่วมทุน (MOU) กับบริษัท ไทยอินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด หรือ TIL เพื่อตั้งกิจการร่วมค้า (Joint Venture)
5 Oct 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy